ข้อมูลทั่วไป

ประวัติโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนาราม


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลลำพญาอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ภายในวัดเวฬุวนาราม เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2523 โดย หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุวนาราม เป็นผู้จัดหางบประมาณและบริจาคที่ดินก่อสร้าง เป็นเนื้อที่ 1 ไร่2งาน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนาราม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ในการเปิดอาคารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนาราม จากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัตดามาตุในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2524
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนารามเป็นโครงสร้างอาคารเป็นไม้ชั้นเดียว เพื่อความสะดวกในการรับบริการของประชาชนตำบลลำพญา ปีพ.ศ.2547 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนารามได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางภาษี และท่านพระครูไพศาลกิตติวรรณ เจ้าคณะตำบลบางระกำ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวนาราม บริจาคทรัพย์เพื่อทำการปรับปรุงอาคารใหม่ดังนี้
1.ปรับปรุงอาคารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนารามด้านหน้าเป็นคอนกรีตและปูพื้นกระเบื้องทั้งหลัง
2.ได้รับการบริจารทรัพย์สร้างรั้วโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนารามจากกลุ่มผู้นำชุมชน
3.การจัดสร้างลานออกกำลังกายพร้อมอุปกรณ์ออกกำลังกาย
4.สร้างศาลากลางน้ำเพื่อเป็นที่พักสำหรับผู้มารับบริการ จากครอบครัวคุณสุรภี เค้าภูไทย
5.ปรับปรุงห้องน้ำและต่อเติมอาคารข้างหลังอาคารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนาราม เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้บริการแก่ประชาชน
ปี พ.ศ.2549 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนารามได้ผ่านการประเมินมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน ยกระดับเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านเวฬุวนาราม เปิดให้บริการคลินิกกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งรับการรักษาต่อจากโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น มีทีมสุขภาพจากโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่นมาให้บริการทุกวันอังคารที่3ของเดือน จัดบริการทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนเป็นหลัก มีภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่างๆ องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญาสนับสนุนงบประมาณ
ปี พ.ศ.2552โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวฬุวนารามได้รับงบประมาณจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ก่อสร้างอาคารหลังใหม่เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น


ข้อมูลสภาพแวดล้อมทั่วไปของหน่วยบริการปฐมภูมิ
·                                           
                                          แผนที่แสดงพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการปฐมภูมิ                  
                 



ภูมิประเทศ    ตำบลลำพญา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม    มีแม่น้ำไหลผ่านที่สำคัญ  คือ  “แม่น้ำท่าจีน”  ไหลผ่านระหว่างกลางตำบล ประชาชนใช้ในการประกอบอาชีพ  บริโภคและการคมนาคม  พื้นที่มีความอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์น้ำ

              
  การปกครอง         ตำบลลำพญา แบ่งเขตการปกครองเป็น  2  ส่วน  คือ
                               - องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญา
                               - เทศบาลตำบลลำพญา
รพ.สต.บ้านเวฬุวนาราม  ตำบลลำพญา อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม 
ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ปกครององค์การบริหารส่วนตำบลลำพญา

 จำนวนหมู่บ้าน   ตำบลลำพญา มีจำนวนหมู่บ้าน ทั้งหมด  11 หมู่บ้าน  แต่อยู่ในเขตรับผิดชอบของ                                รพ.สต.บ้านเวฬุวนาราม  จำนวน   5   หมู่บ้าน คือ
                                                                หมู่ที่       3              บ้านตลาดลำพญา
                                                                หมู่ที่       7              บ้านคลองลำพญา
                                                                หมู่ที่       8              บ้านคลองลำพญา
                                                                หมู่ที่       10            บ้านวัดเวฬุวนาราม
                                                                หมู่ที่       11            บ้านแหลมชะอุย
ข้อมูลของประชากรที่รับผิดชอบ (จำนวนประชากรสำรวจ, จำนวนประชากร UC, ปิรามิดอายุของประชากร, ศาสนา, อาชีพ,รายได้เฉลี่ยของประชากร)
                              
  ประชากร    รพ.สต.บ้านเวฬุวนาราม  ตำบลลำพญา   มีจำนวนครัวเรือน  ทั้งสิ้น 514 ครัวเรือน                                 649   ครอบครัว
จำนวนประชากร (จากการสำรวจ)   รวมทั้งสิ้น      2,105     คน         

                                                      - เพศชาย         1,015        คน       
                                                      - เพศหญิง        1,090    คน



             ตารางแสดงจำนวนประชากร จำแนกตามกลุ่มอายุ ชาย และหญิง ปี 2565

กลุ่มอายุ
ชาย
หญิง
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
0-4
31
1.84
39
2.32
70
4.16
5-9
52
3.09
53
3.15
105
6.24
10-14
48
2.85
43
2.55
91
5.40
15-19
56
3.33502.971066.30
20-24
55
3.27422.50975.77
25-29
37
2.20583.45955.65
30-34
63
0.37492.911123.28
35-39
53
3.15442.619734.11
40-44
54
3.21553.271096.48
45-49
68
4.04603.571287.61
50-54
72
4.28724.281448.56
55-59
62
3.68855.051478.73
60-64
54
3.21523.091066.30
65-69
35
2.08563.33915.41
70+
66
3.921197.0718510.99
รวม
806
47.8987752.111683100
สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม      เช่น ทำนา   ทำสวน   ทำไร่   เลี้ยงสัตว์
รับจ้าง     เช่น รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม,พนักงานบริษัท,รับจ้างทั่วไป
ค้าขาย      เช่น ร้านชำ  ผัก  , และผลไม้
                                 - รับราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ    
ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ        คิดเป็นร้อยละ 100
มีวัดเวฬุวนาราม เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ  ผ่านเกณฑ์ปี 2548 
   ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 .ลำพญา  อ.บางเลน  จ.นครปฐม
การศึกษา
 มีโรงเรียนในพื้นที่รับผิดชอบ      2       โรงเรียน  คือ
- ระดับประถมศึกษา  คือ โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม
- ระดับมัธยมศึกษา   คือ โรงเรียนสถาพรวิทยา  
-ประชาชนจบชั้นประถมศึกษา                      คิดเป็นร้อยละ  63.5
-ประชาชนจบมัธยมศึกษาตอนต้น                   คิดเป็นร้อยละ 11.3
-ประชาชนจบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือปวช.    คิดเป็นร้อยละ 15.2
-ประชาชนจบอนุปริญญาตรี หรือ ปวส.            คิดเป็นร้อยละ 8.0
-ประชาชนจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า            คิดเป็นร้อยละ 2.0
ข้อมูลด้านทรัพยากร
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล        1   แห่ง   คือ รพ.สต.บ้านเวฬุวนาราม  ตำบลลำพญา
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช)  5   แห่ง
- อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)             31 คน
- เสียงตามสาย                                     1   แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน                                     5 แห่ง
- ประปาที่วัด                                         1   แห่ง
- ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  1  แห่ง คือ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสถาพรวิทยา  

ทีมสนับสนุนจากรพ.หลวงพ่อเปิ่น
  -โดยมีนางสาวปัทมา บุญโญธิน      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ( การพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป - การรักษาโรคเบื้องต้น )ช่วยสนับสนุนระบบบริการ  ทุกวันอังคารที่ 3 ของทุกเดือน  ในคลินิกโรคเรื้อรัง
 -จำนวนอาสาสมัครสาธารณสุข  ทั้งหมด 32 คน ต่อจำนวนประชากรที่รับผิดชอบทั้งหมด    1,683  คน  เท่ากับ   1 : 54  คน
 - ประธาน อสม.บ้านเวฬุวนาราม   คือ  นางเครือวัลย์   ภิรมย์เบี้ยว   อสม.หมู่ที่ 10 ตำบลลำพญา

จำนวนชมรมต่างๆในตำบล
-ชมรมสร้างสุขภาพ (ชมรมออกกำลังกาย รำไม้พลอง ,กีฬา )       1 ชมรม                  
-ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข          1 ชมรม
-ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน                      1 ชมรม                  
-ชมรมผู้สูงอายุ                              1 ชมรม
-ชมรมอาสาพัฒนา                        1 ชมรม           


กลุ่มกิจกรรม/กองทุนต่างๆ
                           - ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  1 กลุ่ม 
                           - กองทุนณาปณกิจหมู่บ้าน           1 กองทุน
     - กองทุนสัจจะวันละ1 บาท             1 กองทุน   
     - กองทุนสวัสดิการ ฌกส.ชมรมผู้สูงอายุ  1 กลุ่ม
     - กลุ่มสตรีแม่บ้าน                        1 กลุ่ม       
     - กลุ่มเกษตรกรทำนา                   1 กลุ่ม

1.      ลักษณะสำคัญขององค์กร
1.1    ลักษณะพื้นฐานของหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการปฐมภูมิ
·            พันธกิจหรือบทบาทหน้าที่ตามกฎหมาย ได้แก่
วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยงานชั้นนำระดับตำบล  ในการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ  โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  นำไปสู่การมีสุขภาพดี

พันธกิจ หรือบทบาทหน้าที่
1. จัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
2. พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการด้านสุขภาพให้มีคุณภาพและบรรลุผลสัมฤทธิ์

เป้าประสงค์หลักของหน่วยงาน
1. ประชาชนได้รับการส่งเสริม  ป้องกัน รักษาพยาบาล  และฟื้นฟูโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพ
ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามทางสุขภาพ
ประชาชนมีได้รับการคุ้มครองด้านการบริโภคอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพที่มีความปลอดภัย
4. ภาคีสุขภาพมีส่วนร่วม และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขภาพอย่างเข้มแข็ง
5. องค์กรด้านสนับสนุนและด้านบริการมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
6. ระบบการจัดการสารสนเทศสุขภาพมีคุณภาพ
7. มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและเกื้อกูลมีความผูกพันและความผาสุกในการปฏิบัติงาน

วัฒนธรรมขององค์กร
มีมาตรฐาน  บริการด้วยใจ  สร้างสุขทุกวัยด้วยรอยยิ้ม

ค่านิยมขององค์กร       ได้แก่
บางเลนยุคใหม่ใส่ใจบริการ  ทีมงานเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม  ผู้นำการเปลี่ยนแปลง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น